Interesting Articles: Brexit


     ช่วงนี้ไม่ว่าจะหยิบจับอะไรมาอ่านก็เจอคำว่า Brexit เต็มไปหมด แม้แต่ในดิกฯ ออกซฟอร์ด Brexit ก็เป็นคำที่มาแรงและกำลังได้รับความนิยมในการเสิร์ชมากที่สุด แต่เราดันไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย ไม่ได้แล้ว เดี๋ยวจะตกเทรนด์ มาๆ มาหาข้อมูลกันหน่อยดีกว่า

     Brexit อ่านได้สองแบบ ทั้ง /ˈbrɛksɪt/ เบรกซิท และ /ˈbrɪksɪt/ บริกซิท โดยเป็นคำที่ใช้พูดถึงการที่สหราชอาณาจักรจะถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป และคำนี้เกิดจากการนำ Britain (บริเตน หมายถึงเกาะอังกฤษ) มาผสมกับ exit ที่แปลว่าออก นั่นเอง และเราเองก็เพิ่งรู้ว่าเมื่อครั้งกรีซมีข่าวจะออกจากสหภาพยุโรปก็มีการใช้คำว่า Grexit ด้วยเหมือนกัน

     ไบรอัน วีลเลอร์ และอเล็กซ์ ฮันท์ จาก BBC News ได้สรุปเรื่องการที่สหราชอาณาจักรจะออกจากอียูเอาไว้อย่างน่าสนใจ ใครอยากอ่านเรื่องยาวๆ เต็มๆ เข้าไปดูได้ที่ http://www.bbc.com/news/uk-politics-32810887 เพราะเราจะขอสรุปต่ออีกทีแบบสั้นๆ เท่านั้น เอาแค่ให้เห็นคำศัพท์ที่น่าสนใจไม่กี่คำก็พอ


การลงประชามติของสหราชอาณาจักรเรื่องสหภาพยุโรป : สิ่งที่จำเป็นต้องรู้
ไบรอัน วีลเลอร์ และอเล็กซ์ ฮันท์ จาก BBC News

บทความนี้เขียนเพื่ออธิบายเรื่องสหราชอาณาจักรโหวตถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปในแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจ

เกิดอะไรขึ้น?

มีการจัดทำประชามติ [การโหวตลงคะแนนที่ทุกคน (หรือเกือบทุกคน) ที่มีอายุถึงเกณฑ์ในการใช้สิทธิ์ออกเสียงสามารถมีส่วนร่วม] เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน เพื่อตัดสินใจว่าสหราชอาณาจักรควรจะออกจากสหภาพยุโรปหรือไม่

ผลปรากฎว่า ฝ่ายอยากออกชนะ  52% ต่อ 48%

จำนวนผู้ออกมาลงคะแนนคิดเป็น 71.8% โดยมีผู้ออกเสียงมากกว่า 30 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดในประวัติการออกเสียงทั่วสหราชอาณาจักรนับตั้งแต่มีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี ค.ศ. 1992 เลยทีเดียว

การวิเคราะห์ผลโหวตทั่วสหราชอาณาจักรเป็นอย่างไร?

อังกฤษโหวตสนับสนุน Brexit 53.4% ต่อ 46.6% เช่นเดียวกันกับเวลล์ที่ 52.5% โหวตให้ออกจากอียู และ 47.5% โหวตให้ยังคงเป็นสมาชิกของอียูต่อไป 

ส่วนสกอตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือต่างสนับสนุนให้ยังคงอยู่กับอียู โดยในสกอตแลนด์มีผู้สนับสนุนให้ยังคงอยู่ถึง 62% ต่อ 38% ในขณะที่ผลสำรวจในไอร์แลนด์เหนือ 55.8% สนับสนุนให้อยู่ในอียู และ 44.2% โหวตให้ออก

สหภาพยุโรปคืออะไร?

สหภาพยุโรป หรือที่เรียกกันว่าอียู เป็นการรวมตัวเป็นหุ้นส่วนทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองของสมาชิก 28 ประเทศ โดยเริ่มจัดตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ภายใต้แนวความคิดที่ว่าการที่ประเทศทั้งหลายมาเจรจาต่อรองร่วมกันจะช่วยป้องกันการเกิดสงครามระหว่างประเทศได้

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาอียูจึงกลายเป็นตลาดแบบซิงเกิ้ลมาร์เก็ต คือรวมเป็นตลาดเดียวที่อนุญาตให้มีการเคลื่อนที่ของทั้งสินค้าและพลเมืองภายในประเทศสมาชิกได้อย่างเสรีราวกับทุกประเทศสมาชิกเป็นประเทศเดียวกัน

อียูมีสกลุเงินยูโรเป็นของตัวเอง ซึ่งใช้ในประเทศสมาชิก 19 ประเทศ มีรัฐสภาเป็นของตัวเองและมีการออกกฎในเรื่องต่างๆ ใช้ร่วมกัน ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม การขนส่ง สิทธิผู้บริโภค หรือแม้แต่อัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

     
     ทีนี้ก็พอจะเข้าใจคร่าวๆ แล้วว่า Brexit มีที่มาที่ไปอย่างไร แต่เราไม่ใช่คนสนใจเรื่องการเมืองอยู่แล้ว จึงขอรู้นิดหน่อยก็พอ เอาแค่พอกล้อมแกล้มไว้พยักหน้าเออออตามเวลาฟังชาวบ้านคุยกันก็แล้วกัน

และนี่เป็นภาษาอังกฤษฉบับย่อ แปะไว้ให้เผื่อใครอยากอ่านเทียบกับเนื้อเรื่องภาษาไทยด้านบนค่ะ

The UK's EU referendum: All you need to know
By Brian Wheeler & Alex Hunt, BBC News

This article is designed to be an easy-to-understand guide now that the UK has voted to leave the European Union.

What has happened?

A referendum - a vote in which everyone (or nearly everyone) of voting age can take part - was held on Thursday 23 June, to decide whether the UK should leave or remain in the European Union.
Leave won by 52% to 48%.

The referendum turnout was 71.8%, with more than 30 million people voting. It was the highest turnout in a UK-wide vote since the 1992 general election.

What was the breakdown across the UK?

England voted strongly for Brexit, by 53.4% to 46.6%, as did Wales, with Leave getting 52.5% of the vote and Remain 47.5%.

Scotland and Northern Ireland both backed staying in the EU. Scotland backed Remain by 62% to 38%, while 55.8% in Northern Ireland voted Remain and 44.2% Leave.

What is the European Union?

The European Union - often known as the EU - is an economic and political partnership involving 28 European countries. It began after World War Two to foster economic co-operation, with the idea that countries which trade together are more likely to avoid going to war with each other.

It has since grown to become a "single market" allowing goods and people to move around, basically as if the member states were one country.

It has its own currency, the euro, which is used by 19 of the member countries, its own parliament and it now sets rules in a wide range of areas - including on the environment, transport, consumer rights and even things such as mobile phone charges.

0 comments:

Post a Comment

Copyright © 2016 Improve Your TOEIC Score All Right Reserved